|
![]() |
รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกะปิ กะปิทำมาจากอะไร กะปิมีกี่ชนิด ชนิดของกะปิ วิธีทำกะปิ ชนิดของกุ้งที่ใช้ทำกะปิ ส่วนประกอบ กะปิแท้ 100% ความแตกต่างหว่าง เคย และ กุ้งเคย
กะปิทำมาจากอะไร ?
กะปิ (ภาษาอังกฤษ Shrimp paste) ภาษาท้องถิ่นทางใต้เรียกว่า เคย นิยามตามพจนานุกรมไทย หมายถึง ของเค็มทำด้วยกุ้งกับเกลือโขลกและหมักไว้ ใช้ปรุงอาหาร, เยื่อเคย ก็เรียก คำว่า “เยื่อเคย” เป็นคำสั้นๆ แต่นิยามกะปิได้ชัดเจนสุดๆ เพราะกะปิทำมาจาก “เคย” หรือตัวเคย ลักษณะคล้ายกุ้งตัวเล็กๆ นำไปโขลกกับเกลือนั่นเอง ทีนี้เราไปเจาะลึกเรื่องกะปิกันค่ะ
กะปิมีกี่ชนิด?
ที่มาของกะปิ กะปิที่วางขายทั่วประเทศไทยก็มาจากจังหวัดที่อยู่ติดชายทะเล ทั้งภาคใต้และภาคตะวันออก จังหวัดที่ที่มีการทำกะปิมากที่สุด คือ นครศรีธรรมราช ระนอง ระยอง และที่โด่งขึ้นชื่อ รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ กะปิจากคลองโคน สมุทรสงคราม
ชนิดของกุ้งที่ใช้ทำกะปิ
2. กุ้งเคย (Krill) เป็นสัตว์น้ำจำพวกกุ้ง มีตัวโตกว่า เคย ถ้าดูผิวเผินจะมีลักษณะคล้ายๆ กัน แต่ลักษณะที่เห็นชัดที่สุด ที่นักวิชาการใช้แยก กุ้งเคย กับ เคย ออกจากกันก็คือคือ กุ้งเคยมีขา 3 คู่ ในขณะที่ตัวเคย ไม่มีขา ที่เห็นตรงท้องคือถุงไข่ บนหัวกุ้งเคยจะมี กรี หรือโครงแข็งแหลมที่หัว ซึ่งเคยแท้ไม่มีกรี ส่วนมากที่นำไปทำกะปิมักจะเป็น กุ้งเคย
ฤดูกาลจับกุ้งเคย
• แถบจังหวัดระยอง-ตราด มีกุ้งเคยชุกชุมตั้งแต่เดือนพฤษภา – ธันวาคม
วิธีทำกะปิ การทำกะปิแต่ละภูมิภาคก็จะแตกต่างกันไป แต่ละท้องถิ่นก็จะมีสูตร และวิธีการของตัวเอง การทำกะปิของชาวอำเภอสุขสำราญ จ. ระนอง ทำมาจากเคยแท้ เคย 1 กิโลกรัม ทำกะปิได้ ½ กิโลกรัม
1. วิธีแยก เคย ออกจาก กุ้งเคย หลังจากชาวประมงได้เคยมา ก็จะแยกเอาเฉพาะเคยแท้ โดยนำใส่ในตะกร้าที่หุ้มด้วยถุงตาข่ายถี่ๆ นำตะกร้าไปร่อนในน้ำทะเล วิธีนี้จะเป็นการทำความสะอาดเคยไปในตัว เคยจะลอดตาข่ายของตะกร้าได้ ส่วนปลาเล็กปลาน้อย หรือกุ้งตัวโต จะติดอยู่บนตะกร้าและถูกคัดออกไป ต้องล้างด้วยน้ำเค็มเคยจะได้ไม่เหม็นเน่า
2. นำเคยมาคลุกเคล้ากับเกลือ หมักให้เข้ากัน จากนั้นก็นำไปบ่มทิ้งไว้ 1 คืน ให้น้ำในตัวเคยไหลออกมา วันรุ่งขึ้นจะได้เคยสีส้มๆ 5 กิโลกรัม ต่อเกลืออย่างดี 1 กิโลกรัม
3. นำเคยสีส้มมาบี้ให้เป็นก้อนเล็กๆไปผึ่งแดดให้แห้ง 1-3 วัน
4. นำเคยไปตำให้ละเอียดในครกไม้ ภาษาใต้เรียกว่า ทิ่ม หรือ หักคอ ส่วนที่ต้องตำครกไม้ก็เพราะหากตำในครกหิน ครกปูน จะมีฝุ่นหิน ทราย หลุดมาปะปนในกะปิ เคล็ดลับ ก่อนที่จะนำเคยที่ตากแดดไว้มาตำ จะต้องทิ้งไว้ให้หายร้อนซะก่อน ไม่อย่างงั้นกะปิที่ได้จะมีรสขม และเก็บได้ไม่นาน ขั้นตอนการตำจะใช้เวลาพอสมควร ตำให้ละเอียดโดยไม่ต้องใส่เครื่องปรุงใดๆเลย เคยที่ถูกตำได้ที่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงโดยธรรมชาติ หากตำจนเยื่อเคยเนียนติดสากขึ้นมาเป็นก้อน แสดงว่าเคยกลายเป็นกะปิที่ได้ที่แล้วค่ะ
5. บรรจุลงในโอ่งมังกรอัดกะปิให้แน่นจนเต็ม ปิดด้วยผ้าพลาสติก โรยด้วยเกลือเม็ดให้เต็มพื้นที่ ตั้งทิ้งไว้อย่างประมาณ 45 วัน ขันตอนนี้ เรียกว่าการทำ โอ่งขัดน้ำ หรือ เคยขัดน้ำ ที่เรียกแบบนี้ก็เพราะว่า หลังจากบรรจุลงโอ่งแล้วปิดทับด้วยใบสับปะรด ผ้าพลาสติก หรือบางเจ้าก็ใช้รกมะพร้าว แล้วขัดด้วยไม้ไผ่ เพื่อให้ปิดทับได้แน่นขึ้น ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน จะมีน้ำออกมาจากกะปิเรียกว่า น้ำเคย มีรสเค็มอร่อยคล้ายกับน้ำปลา ขั้นตอนการทำเคยขัดน้ำจะทำให้กะปิหอมกว่าแบบไม่ขัดน้ำ และเก็บไว้นานถึง 2 ปี
วิธีเลือกกะปิ ให้สังเกตุสีของกะปิ กะปิที่ดีควรสีแดงออกม่วงตาม แต่ว่าไม่คล้ำมากนะคะ ถ้าสังเกตุดีๆจะเห็นว่ามีตาของเคยปะปนอยู่ด้วย แสดงว่าทำมาจากเคยแท้ กะปิที่ดีเนื้อก็จะเหนียวละเอียด สม่ำเสมอ ถ้าเนื้อหยาบเป็นเม็ด ไม่ควรซื้อ เพราะว่าอาจจะผสมเนื้อปลา หรือกากปลาซึ่งไม่คุณค่าทางอาหารเท่าไหร่ หากพบว่ามีเกลือเป็นเม็ดผสมอยู่ก็ไม่ควรซื้อ เพราะว่าจะมีรสเค็มมากเกินไปนั่นเอง ทางที่ดีควรเลือกซื้อจากร้านที่ไว้ใจได้ อาจสังเกตุจากร้านที่มีลูกค้าประจำมากๆ ซึ่งมีแนวโน้มว่าคุณจะได้กะปิคุณภาพดี
กะปิแท้ 100% จึงทำมาจากวัตถุดิบเพียง 2 อย่าง คือ เคย กับเกลือ แค่นำเคยไปตำ ไม่ต้องใส่เครื่อปรุงใดๆเลย อย่างกะปิคลองโดน อัตราส่วน ตัวเคย 90% และ เกลือ 10% ปัจจุบันธรรมชาติถูกทำลาย เคยเริ่มหายากขึ้น คนไทยชอบทานกะปิอยู่แล้ว จึงทำให้กะปิราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการนำวัตถุดิบอย่างอื่นมาปะปน ดังนั้นเราควรช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล เราจะได้มีกะปิเคยแท้ๆ ไว้กินกันนานๆ
ที่มา : สารานุกรม fr.wikipedia, รายการกบนอกกะลา เรียบเรียงโดย maanow.com
21 กุมภาพันธ์ 2563 |
![]() | ผู้ประกอบการขายของฝากต้องรู้!! อวดโฉม 10 สินค้าของฝากพื้นบ้าน 3 จังหวัดท่องเที่ยว ฉะเชิงเทรา – ชลบุรี – ระยอง เปลี่ยนแพ็กเกจจิ้งใหม่ดันขายห้างหรู “ของฝาก” นับเป็นสิ่งที่สะท้อนอัตลักษณ์แต่ละท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นการหยิบยกวัตถุดิบหรือผลผลิตในท้องที่ที่มีอยู่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ แต่ทั้งนี้ ของฝากที่วางจำหน่ายในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ยังคงใช้บรรจุภัณฑ์รูปแบบเดิมๆ แต่เมื่อยุคเปลี่ยนไป ถึงเวลาแล้วที่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องก้าวข้ามกรอบความคิดเดิมผ่านการนำความคิดสร้างสรรค์และแนวคิดในการออกแบบที่ทันสมัยมาปรับโฉมผลิตภัณฑ์ให้มีสีสันและความน่าสนใจ แต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของท้องถิ่น เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการเลือกซื้อของนักท่องเที่ยวในอนาคต สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA จับมือผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์และออกแบบบรรจุภัณฑ์ ดำเนินโครงการพิเศษ ยกระดับบรรจุภัณฑ์ให้มีภาพลักษณ์โฉมใหม่ที่ตรงใจนักท่องเที่ยวมากขึ้น ผ่านลงพื้นที่สำรวจหน้าตาสินค้าและของฝาก 3 จังหวัดในพื้นที่อีอีซีอย่าง “ฉะเชิงเทรา – ชลบุรี – ระยอง” พร้อมปรับรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ เช่น ขนมฝอยทอง มะยมเชื่อม ปลาหมึกอบแห้ง และอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การยกระดับของฝากโลคอลแบรนด์ ให้มีความทันสมัย แปลกใหม่ ตลอดจนสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดและเทียบชั้นกับสินค้าในตลาดโมเดิร์นเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นายบุญฤทธิ์ อรัญกูล นายบุญฤทธิ์ อรัญกูล ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริษัท Ihapstudio สตูดิโอออกแบบครบวงจร ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์และออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับผู้ผลิตแบรนด์ไทยและต่างประเทศมานานกว่า 10 ปี กล่าวว่า คณะทำงาน ได้ลงพื้นที่ทำงานร่วมกับผู้ผลิตและผู้ประกอบการชุมชน โดยมี ซีอีเอ เป็นผู้ประสานงานตลอดการดำเนินงาน เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการพัฒนา “บรรจุภัณฑ์ท้องถิ่น” สู่บรรจุภัณฑ์ที่พร้อมจำหน่ายในตลาดโมเดิร์นเทรดและเหมาะสำหรับผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย ภายใต้แนวคิด “Eat.East: EEC Packaging for everyone” ผ่านการทำความเข้าใจร่วมกันในลักษณะของการขาย วิธีการนำเสนอ รวมถึงปัญหาต่างๆ ขณะเดียวกัน ยังได้แลกเปลี่ยนแนวคิดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อหาจุดยืนในการสร้างเอกลักษณ์ สร้างการจดจำแก่นักท่องเที่ยว สร้างคุณค่าให้กับของฝากแบรนด์โลคอล ตลอดจนเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นในชุมชน โดยคณะทำงานได้อาศัยแนวคิดการออกแบบเช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ที่ยกระดับสินค้าท้องถิ่นด้วย “งานดีไซน์-ความครีเอทีฟ” การผสานไอเดียสร้างสรรค์และลูกเล่นต่างๆ ในการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดสายตานักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัย สู่ 10 บรรจุภัณฑ์ของฝากประจำท้องถิ่นใน 3 จังหวัดอีอีซีที่ควรค่าแก่การเลือกซื้อเป็นของฝากเป็นอย่างมาก โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ปลาทูหอม ของดีจากใจคนชลบุรี บรรจุภัณฑ์ปลาทูหอม จากจังหวัดชลบุรี ได้รับการออกแบบในลักษณะของปลอกสวมขนาดแคบ และยาว เพื่อโชว์ตัวปลาด้านใน โดยที่ตัวปลาบรรจุอยู่ในถาดพลาสติกซีลร้อนขอบทุกด้าน เพื่อคุ้มกันสินค้าและถูกสวมด้วยปลอกกระดาษเเข็ง ปลาหมึกบด ของดีจากใจคนชลบุรี บรรจุภัณฑ์ปลาหมึกบด จากจังหวัดชลบุรี ได้รับการปรับขนาดให้มีไซซ์ที่เล็กลง ดูทันสมัยขึ้น โดดเด่น แต่คงปริมาณปลาหมึกบดเท่าเดิม เพื่อความสะดวกต่อการรับประทาน โดยปลาหมึกบดจะถูกบรรจุไว้ในถุงซิปล็อกใส พร้อมติดสติ๊กเกอร์กระดาษ ปลาหมึกอบกรอบ จากทะเลเมืองชล บรรจุภัณฑ์ปลาหมึกอบกรอบ จากจังหวัดชลบุรี ได้รับการออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งาน โดยลดขนาดปลาหมึกอบกรอบให้มีขนาดพอดีคํา ง่ายต่อการฉีกรับประทาน พร้อมกันนี้ ยังออกแบบฉลากกระดาษเป็นลายกราฟิกรูปปลาหมึก เพื่อเพิ่มลูกเล่นและสร้างความแปลกใหม่แก่นักท่องเที่ยว ทุเรียนกวนพอดี ของดีเมืองระยอง บรรจุภัณฑ์ทุเรียน จากจังหวัดระยอง ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับรูปทรงของทุเรียนกวนที่มีลักษณะยาว ด้วยฟอร์มสามเหลี่ยมที่มีความทนทาน ง่ายต่อการขนส่ง และมีฟันสามเหลี่ยมปิดหัวและท้าย ที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับทุเรียนกวน นอกจากนี้ ยังออกแบบลายกราฟิกลงบนบรรจุภัณฑ์ในแบบต่างๆ ทั้งหนามแหลมของทุเรียนในโทนสีเขียวและเหลือง รวมถึงภาพผีเสื้อสมุทร นางยักษ์จากเรื่องพระอภัยมณี ทุเรียนทอด ของดีจากระยอง บรรจุภัณฑ์ทุเรียนทอด จากจังหวัดระยอง ที่ได้รับการออกแบบฉลากในลวดลายกราฟิกพระอภัยมณี สัญลักษณ์สร้างชื่อของจังหวัดระยอง ซึ่งช่วยเพิ่มความโดดเด่นให้กับสินค้าได้อย่างชัดเจน ขณะที่ตัวซองบรรจุจะเป็นซองพลาสติกใสซีลร้อน ซึ่งผู้ขายสามารถนำไปใช้งานได้ง่าย มะยมเชื่อม ของดีจากระยอง บรรจุภัณฑ์มะยมเชื่อม จากจังหวัดระยอง ได้รับการปรับรูปทรงบรรจุภัณฑ์ให้เป็นทรงกระบวก และมีสัดส่วนความสูงที่พอดีกับไม้มะยมเชื่อม เพื่อให้ง่ายต่อการรับประทานหรือพกพาไปสถานที่ต่างๆ นอกจากนี้ ยังทำการลดขนาดของจำนวนไม้ลงเพื่อควบคุมการบริโภคที่พอเหมาะของผู้บริโภค มะม่วงกวน ของดีเมืองระยอง บรรจุภัณฑ์มะม่วงกวน จากจังหวัดระยอง ได้รับการออกแบบในลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่มีหูหิ้วในตัว เพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน โดยมาพร้อมลวดลายกราฟิกของผงมะม่วง และภาพสุนทรภู่ ผู้แต่งนิทานพระอภัยมณี ขณะที่มะม่วงกวนที่อยู่ด้านใน จะได้รับการหุ้มห่อด้วยกระดาษไข เพื่อรักษาคุณภาพของเนื้อมะม่วงกวน ขนมเปี๊ยะ ของดีจากฉะเชิงเทรา บรรจุภัณฑ์ขนมเปี๊ยะ ของดีจากฉะเชิงเทรา ได้รับการออกแบบมาให้ง่ายต่อการใช้งาน โดยภายในบรรจุขนมเปี๊ยะ 2 ชิ้น ในขนาดที่รับประทานแบบพอดี แต่ยังคงรสอร่อยและกระบวนการผลิตแบบโบราณดั้งเดิมจากรุ่นสู่รุ่น โบราณกาละแม กะทิจัดเต็มจากฉะเชิงเทรา บรรจุภัณฑ์โบราณกาละแม จากจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับการออกแบบกะละแมในขนาดเล็กพิเศษกว่าเดิม เพื่อให้เหมาะแก่การพกพาหรือเปิดทานได้อย่างสะดวกใน 1 ครั้ง โดยมาพร้อมกับกราฟิกหลายลวดลายทั้ง น้ำกะทิจากผลมะพร้าว และวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชน
ด้าน นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) กล่าวว่าได้จัดตั้ง “มินิ ทีซีดีซี เซนเตอร์” ครีเอทีฟฮับแห่งใหม่ของภาคตะวันออก สาขาที่ 6 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา แหล่งรวมไอเดียสำหรับการคิด พัฒนา ออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษา นักออกแบบ ผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์ ให้สามารถเข้าใช้บริการ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-105-7400 หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ cea.or.th
28 พฤษภาคม 2562 |
ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1 (2 รายการ)