องค์การบริหารส่วนตำบลเพ หมายเลขโทรศัพท์.  0-3865-1911

แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ภารกิจผู้บริหาร

อาเซียน

ศูนย์ดำรงธรมม



สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 14/11/2562
วันนี้
218
เมื่อวานนี้
378
เดือนนี้
1,247
เดือนที่แล้ว
7,298
ปีนี้
47,281
ปีที่แล้ว
41,199
ทั้งหมด
258,331
ไอพี ของคุณ
18.206.48.243

สภาพและข้อมูลพื้นฐาน

 

ประวัติความเป็นมา


         องค์การบริหารส่วนตำบลเพ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง มีฐานะเป็นนิติบุคคล ได้รับการจัดตั้งจาก “สภาตำบลเพ” เป็น “องค์การบริหารส่วนตำบลเพ” ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม 2539 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนที่ 9  ฉบับวันที่ 30 มกราคม 2539 ซึ่งมีผลบังคับตามประกาศเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2539 โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ข้อมูลทั่วไป

 

ที่ตั้ง


       ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเพ ตั้งอยู่บริเวณถนนสายชากไผ่ - กลางดง หมู่ที่ 1 บ้านในไร่ ตำบลเพ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองระยอง ประมาณ 15 กิโลเมตร และระยะทางห่างจากศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ประมาณ 30 กิโลเมตร

 

อาณาเขต


     องค์การบริหารส่วนตำบลเพ เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 134.28 ตารางกิโลเมตร หรือ 83,925 ไร่ คิดเป็นพื้นดินประมาณ 13.28 ตารางกิโลเมตร หรือ 8,300 ไร่ พื้นน้ำประมาณ 121 ตารางกิโลเมตร 75,625 ไร่ มีอาณาเขต ดังนี้

 

- ทิศเหนือ จรดตำบลตะพงและตำบลแกลง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
- ทิศใต้ จรดทะเลอ่าวไทย รวมหมู่เกาะเสม็ด
- ทิศตะวันออก จรดตำบลแกลง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
- ทิศตะวันตก จรดตำบลตะพง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง

 

เขตการปกครอง


     องค์การบริหารส่วนตำบลเพ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของตำบลเพ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ที่นอกเหนือจากการประกาศเป็นเขตเทศบาลตำบลบ้านเพ มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 4 หมู่ ดังนี้

นายวิโรจน์ ชลสวัสดิ์

กำนัน

หมู่ที่ 1

บ้านในไร่ (พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านเพ)

นายวิโรจน์ ชลสวัสดิ์

ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 4

บ้านเกาะเสม็ด

นายสุธน สังข์สุวรรณ์

ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 6

บ้านต้นลำดวน (พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านเพ)

นายธัชพล ยมจินดา

ผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 7

บ้านสำเภาทอง (พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านเพ)

นายประเสริฐ จันทรา

ผู้ใหญ่บ้าน

 

ประชากร

องค์การบริหารส่วนตำบลเพ มีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 1,839 คน แยกเป็น

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนประชากร

ครัวเรือน

หมายเหตุ

ชาย

หญิง

รวม

1

บ้านในไร่

109

131

240

88

ความหนาแน่นเฉลี่ย
13.69 คนต่อตาราง
กิโลเมตร

4

บ้านเกาะเสม็ด

638

680

1,318

719

6

บ้านต้นลำดวน

89

96

185

74

7

บ้านสำเภาทอง

51

45

96

23

รวม

887

952

1,839

904

 

การศึกษา

- โรงเรียนประถมศึกษา 1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง

 

สถาบันและองค์กรทางศาสนา


- วัด 1 แห่ง
- สำนักสงฆ์ 1 แห่ง

 

การสาธารณสุข


- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะเสม็ด 1 แห่ง
- ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน 4 แห่ง
- คลินิก 1 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 1 แห่ง
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 65 คน
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100

 

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน


- สถานีตำรวจภูธรเพ สาขาเกาะเสม็ด 1 แห่ง
- ศูนย์ประสานงานเตือนภัยช่วยเหลือผู้ประสบภัย ฯ 1 แห่ง
- ตำรวจอาสา 20 คน
- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) 50 คน

 

ภูมิประเทศ

       ลักษณะภูมิประเทศโดยรวมขององค์การบริหารส่วนตำบลเพ มีลักษณะเป็นภูเขา เนินเขา ที่ราบลุ่มสลับกับที่ดอนลูกฟูกลาดลงสู่ที่ราบชายฝั่งทะเล และชายฝั่งผสมหมู่เกาะในทะเล

 

ทรัพยากรธรรมชาติ


- ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า
     - ป่าสงวนแห่งชาติ (ป่ากะเฉด ป่าเพ ป่าแกลง) ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบแล้ง มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ และป่าเบญจพรรณ
     - อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด (หมู่เกาะเสม็ด) ประกอบด้วย ป่าดิบแล้ง อยู่ในสภาพกำลังฟื้นตัว มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ และป่าชายหาด มีสภาพเสื่อมโทรมและถูกบุกรุกทำลาย สัตว์ป่าที่พบ ได้แก่ นกเงือกขนาดเล็กหรือนกแก๊ก ค้างคาวแม่ไก่ เป็นต้น

    - หาดแม่รำพึง มีสภาพเสื่อมโทรมและถูกบุกรุกทำลาย
    - หมู่เกาะเสม็ด (เกาะเสม็ด เกาะจันทร์ เกาะทะลุ เกาะกุฎี เกาะขาม เกาะกรวย และเกาะปลายตีน) ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะเสม็ด มีความลาดชันสูง ส่วนใหญ่เป็นหน้าผาหิน มีหาดทรายเพียงสองแห่ง ได้แก่ อ่าวพร้าว และอ่าวกิ่วหน้าใน ส่วนทางด้านทิศตะวันออกมีความลาดชันน้อย มีหาดทรายยาวต่อเนื่องตลอดแนว ได้แก่ หาดทรายแก้ว หาดหินโคร่ง หาดคลองไผ่ อ่าวพุทรา อ่าวทับทิม อ่าวนวล อ่าวช่อ อ่าวคอก อ่าวเทียน อ่าวหวาย อ่าวกิ่วหน้านอก และอ่าวกะรัง สัตว์ทะเลที่พบ ได้แก่ ปะการังโต๊ะ ปะการังพุ่มไม้ ปะการังโขด ปะการังสมอง ปะการังเห็ด ปะการังอ่อน ปะการังถ้วยส้ม ฟองน้ำครก เม่นหนามดำ ปลิงทะเล เต่าตนุ ดอกไม้ทะเล ปลาการ์ตูน ปลาผีเสื้อลายแปดเส้น ปลาโนรีครีบยาว ปลาสินสมุทรลายน้ำเงิน หอยมือเสือ หอยนมสาว หอยเบี้ยเล็ก หอยเต้าปูน หอยตลับ หอยหนาม และปูใบ้ เป็นต้น

 

เศรษฐกิจ


- ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านธุรกิจการท่องเที่ยว และเกษตรกรรม
- หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
      ธุรกิจที่พักแรม 69 แห่ง 990 หลัง 1,596 ห้อง
      ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 61 แห่ง
      ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึก 29 แห่ง
      ธุรกิจรถโดยสาร 60 คัน
      ธุรกิจเรือโดยสาร 14 ลำ
      ธุรกิจอื่น ๆ 11 แห่ง

 

 การคมนาคม


-  ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเต็มสาย 20 สาย
-  ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กไม่เต็มสาย 14 สาย
-  ถนนลูกรัง 6 สาย
- ท่าเทียบเรือเกาะเสม็ด (ทรัพย์สินของ อบจ.ระยอง) 1 แห่ง

 

การโทรคมนาคม


- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ( สาขาเกาะเสม็ด ) 1 แห่ง
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 15 แห่ง
- ร้านอินเตอร์เน็ต 10 แห่ง

 

การไฟฟ้า


- ไฟฟ้าเข้าถึงครบทุกหมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 , 4 , 6 และ 7

 

แหล่งน้ำธรรมชาติ


- ลำน้ำ , ลำห้วย 2 สาย

 

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น


- อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง
- สระน้ำ 2 แห่ง
- บ่อโยก 1 แห่ง
- ฝ. 99 1 แห่ง