|
บทบาท..หน้าที่..อบต.
องค์การบริหารส่วนตำบล มีชื่อย่อเป็นทางการว่า อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 โดยยกฐานะจากสภาตำบล ที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณ ที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท
อำนาจหน้าที่ อบต.
องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (มาตรา 66) ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 67)
• จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
• รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
• ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
• ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
• ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
• ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เก็บ เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
• คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
• บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม อันดีของท้องถิ่น
• ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณ หรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร
ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย องค์การบริหารส่วนตำบล อาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 68)
• ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
• ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
• ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
• ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
• ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
• ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
• บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
• การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สิน อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
• หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
• ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
• กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
• การท่องเที่ยว
• การผังเมือง
นอกจากที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะสามารถดำเนินการ ภายในเขตของตนเองแล้ว องค์การบริหารส่วนตำบล ยังอาจสามารถทำกิจการ นอกเขต ได้หรือร่วมกับสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วย การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อกระทำกิจการร่วมกันได้ ทั้งนี้เมื่อได้รับความยินยอมจากสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้อง และกิจการนั้นเป็นกิจการที่จำเป็นต้องทำ และเป็นการเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน (มาตรา 73) นอกจากอำนาจหน้าที่ซึ่งได้กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว ยังมีการรับรองและกำหนดอำนาจหน้าทีขององค์การบริหารส่วนตำบลไว้ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 อีก มีทั้งหมด 31 ข้อ ประกอบด้วย
• การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
• การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ
• การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
• การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
• การสาธารณูปโภค
• การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
• การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
• การส่งเสริมการท่องเที่ยว
• การจัดการศึกษา
• การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
• การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
• การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและ การจัดการเกี่ยวกับที่อยู่
• การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
• การส่งเสริมกีฬา
• การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
• ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
• การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
• การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
• การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล
• การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
• การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
• การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
• การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบร้อยและการอนมัย โรงมหรสพ และ สาธารณ สถานอื่นๆ
• การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
• การผังเมือง
• การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
• การดูแลรักษาที่สาธารณะ
• การควบคุมอาคาร
• การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
• การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุน การป้องกันและรักษาความปลอดภัย
• กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ภารกิจรอง
• การรักษาความสงบเรียบร้อย และประเภทสาธารณภัย
• การฟื้นฟูวัฒนธรรมและส่งเสริมประเพณีตำบล
• การส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และองค์กรภาคเอกชน
• การจัดบริการสาธารณะต่าง